วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 8 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจที่พักและธุรกิจขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องรับประทานอาหารในระหว่างการท่องเที่ยวหรือการเดินทาง ในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ห้องอาหารในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า ภัตตาคารได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบาๆ และมีผู้ให้คำนิยามของคำว่าร้านอาหารและภัตตาคารต่อมา


การจำแนกปะเภทของธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีร้านอาหารและภัตตาคารต่าง ๆ มากมายไว้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการจำแนกประเภทของร้านอาหารอย่างชัดเจน สามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทดังนี้


1.ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants)
เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่งรับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ



2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shops)
เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets)
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรงทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก



4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพ (Coffee Shops)
เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่ เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย



5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว ๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ มาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurants)
เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำ
อาหารไทย

อาหารไทยภาคกลาง
มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร จึงเป็นศูนย์กลางการค้าและทางวัฒนธรรมของชาติ มีความหลากหลายของอาหาร ทั้งเค็ม เผ็ด เปรี้ยวหวาน และมีการแต่งกลิ่นด้วยเครื่องเทศต่างๆ

อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศอุดมสมบูรณ์ มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม อาหารใช้พืชตามป่าเขา หรือที่ปลูกไว้มาปรุงอาหาร มีแบบเฉพาะ เรียกว่า “ขันโตก” ไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะได้ความหวานจากผักแล้ว


อาหารไทยภาคใต้
อยู่ติดทะเล (ฝน8แดด4) อาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล (มีกลิ่นคาวจึงใช้เครื่องเทศและขมิ้นดับกลิ่น) อาหารมีรสชาติเผ็ด ร้อน เค็ม เปรี้ยว นิยมกินผักเพื่อลดความร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”


อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินร่วนปนทราย มักรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงวัว ควาย เพื่อบริโภค และสัตว์อื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่น มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา อาหารมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม


ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1. อาหารเช้า คือ อาหารที่รับประทานตั้งแต่ 8.00-9.00 เป็น2ประเภทคือ
- อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
- อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ
2. อาหารก่อนกลางวัน คือ รับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่ 9.30-11.30
3. อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4. อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)
5. อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่างๆ
- อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
- ซุป (Soup)
- อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
- อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
- ของหวาน (Dessert)
- ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6. อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก (Shopping and Souvenir Business)
คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค


ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store)
หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls)
คือ การขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop)
เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
2.สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น