วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

สวนวชิรเบญจทัศ หรือ สวนรถไฟ [งานเดี่ยว]


ที่ตั้ง
สวนรถไฟอยู่เขตจตุจักร ติดกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ใกล้ ๆ สวนจตุจักรนี่เอง ทางเข้าจะอยู่ใกล้กับตึก ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ้ามาจาก ถ.วิภาวดีรังสิต แยกสุทธิสาร จะต้องขึ้นสะพานลอยข้ามแยก (ด้านนอก) ให้เลือกช่อง “ดอนเมือง” อย่าผิดช่องเพราะมีหลายทางเลือกมาก เมื่อลงสะพานลอยให้ชิดซ้ายตัดเข้าถนนเล็ก ๆ ตรงทางเข้า ตรงจุดนี้ควรใช้ความระมัดระวังด้วย เพราะระยะทางค่อนข้างกระชั้นชิด ถ้ามาจากทางอื่นไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก แล้วเลี้ยวเข้าซอยข้าง ปตท.ซึ่งจะเห็นป้ายชื่อสวนวชิรเบญจทัศขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ถ้านำรถมาเสียค่าบำรุงสถานที่ 10 บาท

ความเป็นมา
ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อม ในรูปการเพิ่มพื้นที่สีเขียวใน เมือง เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของชาวกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมมหานครใหญ่ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2534 และวันที่ 29 มกราคม 2534 สมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้จัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ "สนามกอลฟ์รถไฟ" ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ส่วนแรก 140 ไร่ให้สร้างเป็นสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ส่วนที่เหลือ 375 ไร่ กรุงเทพมหานครรับมอบที่ดินจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2541 และจ่ายค่าชดเชยให้การรถไฟ ฯ จำนวน 555 ล้านบาท และเริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่สนามกอลฟ์เดิม เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 ต่อมา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2545 กรุงเทพมหานครได้ขอพระราชทานชื่อให้กับสวนรถไฟ ซึ่งได้ทรงพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "สวนวชิรเบญจทัศ"

การเดินทาง
หารถเมล์สายที่ผ่าน สวนจตุจักร และ เส้นพหลโยธิน ลงตรงสวนจตุจักรหรือ ถ้ารถเมล์บางสายที่ๆไปทางดอนเมือง ก็ลงตรงป้ายแรก เส้น วิภาวดีรังสิต ตรงนั้นก็จะมี มอเตอร์ไซด์บริการ บอกเค้าว่า ไปสวนรถไฟ ไปถูกทุกคน
**รถเมล์สายที่ผ่านสวนจตุกจักร 3, 8, 26, 27, 28, 34, 38, 39, 44, 63, 90, 96, 104, 112, 134, 138, ปอ. 2, 3, 9, 10, 12, 13
อีกหนึ่งทางที่สะดวกสำหรับคนกรุง และไม่ต้องเสียงกับรถติดแน่นอน คือทางรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีหมอชิต และรถไฟใต้ดินลงสถานีพหลโยธิน เดินลัดสวนหย่อม ตรงสถานี มาทางถนนวิภาวดี ข้ามสะพานลอยมาเพื่อขึ้นวินมอเตอร์ไซด์



ลักษณะและสิ่งที่น่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว
บทบาทใหม่ของสวนสาธารณะที่เพิ่มศักยภาพ ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งนันทนาการเปิด ทำให้ผู้ใช้สวนสามารถเข้ามาใช้บริการ ได้ตลอดวัน เกิดขึ้นจากการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้และนันทนาการในสวนทั้ง 6 จุด เข้ากับกิจกรรมในสวนสาธารณะข้างเคียง คือ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จำนวน 2 จุด และสวนจตุจักร อีก 1 จุด รวมเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ 9 จุดเชื่อมสวนทั้ง 3 เข้าด้วยกันเป็นพื้นที่สี เขียวผืนใหญ่ ถึง 705 ไร่ สร้างคุณค่ามหาศาลต่อระบบนิเวศของเมือง นับเป็นการพัฒนาด้านสังคมควบคู่กับด้านจิตใจ ที่สอดแทรกมาในการพัฒนาพื้นที่ด้านกายภาพ
อุทยานการเรียนรู้จตุจักร ครอบคลุมพื้นที่สวนสาธารณะ 3 แห่ง นำเสนอกิจกรรม 9 จุด ดังนี้
1)สวนปิกนิก " ฟ้าใส ไม้สวย ด้วยแรงใจ ปตท.สผ." พื้นที่ 4 ไร่ ส่วนหนึ่งในสวนวชิรเบญจทัศ จัดไว้เพื่อปิกนิก ณ ลานบาร์บีคิว ใต้ร่มไม้ ริมบึงน้ำ ท่ามกลางทุ่งดอกไม้ป่า มีเตาปิ้งไว้ให้บริการ ซึ่งสวนบริเวณนี้ ได้รับการสนับสนุนจัดสร้างจากบริษัทปตท.สำรวจและปิโตรเลียมฯ ปัจจุบันกลายเป็นที่ชุมนุมของครอบครัวในวันหยุด เปิดบริการเวลา 07.00 - 21.00 น.ทุกวัน บริเวณริมบึงน้ำมีบริการเช่าจักรยานน้ำและเรือพาย อัตรา 30 บาท / 1 ชม.

2)ลานกีฬา ที่ตั้งของศูนย์ฝึกกีฬาประชานิเวศน์ ให้บริการด้านสถานที่ และอุปกรณ์กีฬาแก่สมาชิก มีสนามฟุตซอล 5 สนาม สนามฟุตบอล 4 สนาม สนามสตรีทบอล ลานเปตอง อุปกรณ์ยกน้ำหนัก เปิดบริการเวลา 10.00- 18.00 น.ทุกวัน

3)อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ สร้างในพื้นที่ 4 ไร่ด้านตะวันออก เฉียงใต้ของสวนวชิรเบญจทัศเป็นอาคารรูปโดมขนาด 1 ไร่ ภายในแสดง นิทรรศการ ห้องวีดีทัศน์ให้ความรู้ และกรงผีเสื้อแบบ Walk in ที่จัดภูมิ-ทัศน์งดงามด้วยน้ำตก ธารน้ำและมวลไม้ดอก นำเสนอโอกาสชื่นชม ผีเสื้อสีสันสวยงามนับพันตัวในสภาพเป็นอยู่จริง มิใช่ในกล่องสะสมแมลงอีกต่อไป

4)ศูนย์นันทนาการชุมชนสวนรถไฟ ให้บริการด้านกิจกรรมนันทนา- การรูปแบบต่าง ๆ มีสระว่ายน้ำสำหรับเด็กที่ตกแต่งด้วยน้ำพุ ล่อใจ สร้าง ความเพลิดเพลิน มีบริการเช่าจักรยาน และสนามเด็กเล่นที่มีชุดเครื่อง เล่นสำหรับเด็กหลายวัยถึง 15 ชุดติดตั้งจุดพ่นละอองน้ำเป็นระยะสร้าง ไอเย็นดับร้อนและน่าตื่นเต้น เรียกความสนใจจากเด็กได้ดี เปิดบริการ เวลา 06.00-20.00 น. วันจันทร์- เสาร

5)ค่ายพักแรม สถานที่จัดกิจกรรมผจญภัยกลางแจ้งในบรรยากาศสวย ๆ ของสวนวชิรเบญจทัศ เปิดโอกาสให้ครอบครัว เด็กและเยาวชนเข้าร่วม ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

6)สวนป่าใหญ่ในเมือง รวบรวมพันธุ์ไม้ในพื้นที่ 10 ไร่ ของสวนอันเกิดจากโครงการ ต่อชีวิต ต้นไม้สร้างป่าใหญ่ในเมือง เพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี ที่ถูกรุก รานจากการพัฒนาเมือง ให้มามี ชีวิตใหม่ใน "ป่าสาธิต" แห่งนี้ นำเสนอกิจกรรมศึกษา ธรรมชาติ จำลองระบบนิเวศของป่าไว้ให้เรียนรู้

7)สวนพฤกษศาสตร์ พื้นที่ 30 ไร่ในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นที่รวบรวม พันธุ์ไม้ท้องถิ่น ไม้หายากแปลกตา น่าสนใจไว้เพื่อให้ความรู้ และนำเสนอความมหัศ- จรรย์แห่งธรรมชาติ เพื่อเด็กรุ่นใหม่ได้สัมผัสเรียนรู้จากของจริง ทดแทนข้อจำกัดของ สถานศึกษาในเมือง ที่มักคับแคบ ขาดแคลนพื้นที่สีเขียว

8)พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ด้านหน้าของ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ภายในและ ภายนอกจัดนิทรรศการและกิจกรรม ทั้งให้ความรู้ และความบันเทิง ผ่านขบวนการเรียนรู้ที่เด็กมีส่วนร่วมได้ แบ่งเป็น 8 ภาค คือ
ภาคธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กเรียนรู้สมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศ
ภาควิทยาศาสตร์ ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลอง สังเกต และเข้าใจถึงกฏเกณฑ์พื้นฐาน
ภาคเทคโนโลยี ให้เด็กเรียนรู้การนำหลักวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในรูปเทคโนโลยีที่ สัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน
ภาควัฒนธรรมและสังคม ให้เด็กได้เรียนรู้ความต่างของเพื่อนมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของ โลก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ภาคร่างกายของเรา ให้เด็กเรียนรู้การกำเนิดชีวิตและระบบร่างกายมนุษย์
ภาคสันทนาการและการออกกำลังกาย เพื่อความตื่นเต้น สนุกสนานเสริมสร้างความแข็งแรง และความมั่นใจตนเอง
ภาคกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก มุมฝึกฝน กระตุ้นพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาของเด็กเล็ก
ภาคเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แสดงนิทรรศการเผยแพร่ พระราชกรณียกิจ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งนี้เปิดบริการทุกวันเว้นวันจันทร์เวลา 10.00-18.00 น.

9)พิพิธภัณฑ์รถไฟ อยู่ในอาคารหอเกียรติภูมิรถไฟ สวนจตุจักรแสดงประวัติศาสตร์กิจการรถไฟของไทย ผลงานเทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ คิดค้นโดยคนไทยและผลงานพระอัจฉริยะภาพของในหลวง รวมทั้ง นิทรรศการยานยนต์ เปิดบริการเวลา 0700-16.00 น.วันเสาร์ - อาทิตย์

นอกจากนี้ในสวนวชิรเญจทัศยังมีจุดที่น่าสนใจอื่น เช่น
น้ำพุสูงที่สุดในประเทศไทย ติดตั้งกลางบึงน้ำ พ่นน้ำสูงถึง 72 เมตร หมายถึงการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 72 พรรษา
กิจกรรมขี่จักรยานแรลลี่ดูนก สำหรับผู้รักธรรมชาติ ชื่นชอบการดูนกที่มีมากกว่า 30 ชนิด
ประติมากรรม สร้างชีวิตชีวาให้สวนด้วยประติมากรรมที่สื่อถึงอารมณ์ สนุกสนาน ในอิริยาบถร่าเริงของเด็ก กระจายประดับอยู่ทั่วสวน


















วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

เกาะเกร็ด [ งานกลุ่ม ]

เกาะเกร็ด

ความเป็นมา
เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ
เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้ว่าวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แต่หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ารีตมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 การคมนาคมบนเกาะจะใช้จักรยานเพื่อให้เหมาะกับขนาดของเกาะ



การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกปากเกร็ดให้ตรงไปท่าน้ำปากเกร็ดประมาณ1กม. จะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัดสนามเหนือให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 500 ม.จอดรถไว้ที่วัดสนามเหนือ แล้วลงเรือข้ามฟากที่ท่าเรือวัดสนามเหนือไปเกาะเกร็ดค่าเรือ2 บาท
รถประจำทาง สาย 32, 51, 52, 104, ปอ. 5 และ ปอ. 6 ไปลงท่าน้ำปากเกร็ด แล้วเดินไปวัดสนามเหนือ หรือนั่งสามล้อถีบ แล้วลงเรือข้ามฟากไปเกาะเกร็ด

การนั่งเรือชมธรรมชาติ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ Ecotourism
นั่งเรือรอบเกาะเกร็ด
มีเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ ข้ามมาที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส หากจะนั่งเรือรอบเกาะ มีเรือหางยาว นั่งได้ประมาณ 8 คน เหมาลำลำละ 500 บาท แต่แวะคลองขนมหวาน ราคา 700 บาท เรือเล็กเช่าจากปากเกร็ด เข้าคลองขนมหวาน ราคา 150 – 200 บาท ล่องเรือชมวัด ชุมชนมอญเกาะเกร็ด (ใช้เวลาครึ่งวัน)
นั่งเรือชมรอบเกาะ เพื่อสัมผัสความงดงามของบ้านเรือน และวัดสำคัญของชุมชนชาวมอญ รวมทั้งความร่มรื่นเขียวขจีของเรือกสวน แวะเข้าไปชมการทำขนมไทยที่คลองขนมหวาน จากนั้น ชมเส้นทางเครื่องปั้นดินเผาอันเลื่องชื่อของเกาะเกร็ด แล้วอิ่มอร่อยกับอาหารพื้นบ้านแบบมอญก่อนเดินทางกลับ

ปั่นจักรยานเที่ยวเกาะเกร็ด
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา Health and Sport Tourism
เดินเที่ยว – เกาะเกร็ดเป็นเกาะเล็กๆ สถานที่ท่องเที่ยวก็ตั้งติดๆ กัน สามารถเดินไปตามทางได้เรื่อย แดดไม่ร้อนมากค่ะ ลมแม่น้ำก็พัดเย็นสบาย ถ้าเหนื่อยก็แวะพักซื้อขนม หรือแวะนั่งร้านอาหารริมน้ำ สถานที่แต่ลแห่งก็อยู่ใกล้ๆ กัน ระยะเดินถึงค่ะ แต่อย่าคิดจะเดินรอบเกาะนะคะ หลายกิโลอยู่
ปั่นจักรยานรอบเกาะ – ค่าเช่าจักรยานคันละ 40 บาท มีให้เช่า 2 จุดคือ ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาส และเท่าเรือวันป่าฝ้าย ขาไปปั่นสบายลมเย็น ขากลับปั่นจะเอียงเพราะตะกร้าจักรยานเต็มไปด้วยขนมและของกิน แต่สนุกมาก ได้เที่ยวแล้วก็ได้ออกกำลังกายไปในตัว พอปั่นช่วงคนคึกคักอาจจะต้องมีลงมาจูงจักรยานบ้าง

วัดไผ่ล้อม
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม Culture Tourism
วัดไผ่ล้อม เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลาย หน้าบันจำหลัก ไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์ รูปทรง แปลก ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง แต่องค์ระฆังทำเป็นรูปบาตรคว่ำ มียอดทรงกลม ประดับลายปูน ปั้นอย่างสวยงามมาก คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพี๊ยะโต้"
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม Culture Tourism
วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระทรงโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง"
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงาม

วิถีชีวิตชาวมอญในเกาะเกร็ด
การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น Ethic Tourism
วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนชาวมอญ คือมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวนผลไม้ มีความชำนาญงานฝีมือด้านงานปั้นดินเผา ประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ โอ่ง อ่าง หม้อน้ำมีหลายขนาดตกแต่งแบบเรียบง่าย หรืออาจมีการแกะสลักลวดลายบ้างเล็กน้อย ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน กอปรกับพื้นที่บริเวณเกาะเกร็ดมีแหล่งดินที่เหมาะสมต่อการทำเครื่องปั้นดินเผา จึงทำให้การสืบทอดความรู้นี้ยาวนานจนถึงลูกหลานชาวไทยเชื้อสายมอญในปัจจุบัน

เครื่องปั้นดินเผา
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา Educational Tourism
เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด เป็นประเภทไม่เคลือบเนื้อดิน และส่วนใหญ่เป็นสีส้มอ่อนจนถึงสีแดง จุดเด่นคือการมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ การแกะสลักหรือฉลุลายอย่างวิจิตรบรรจง การปั้นรูปทรงและองค์ประกอบ ซึ่งแสดงถึงการสืบทอดศิลปะของชาวมอญแต่โบราณ



ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. นำดินเหนียวมากองไว้เตรียมใช้งานเรียกว่า กองดิน
2. ซอยดินเหนียว แล้วนำไปพรมน้ำหมักค้างคืน โดยใช้ใบตองแห้งคลุมให้ดินชุ่มน้ำพอเหมาะ
3. ปั้นดินที่หมักเป็นก้อนๆ ยาวประมาณ 1 ศอกนำไปวางไว้ในลานวงกลมแล้วใช้ควายย่ำให้ทั่ว เรียกว่า นวดดิน ปัจจุบัน พัฒนามาเป็นการใช้เครื่องนวดแทนควาย
4. นำดินที่นวดแล้วมาตั้งเป็นกองใหญ่ แล้วเหยียบให้เป็นกองแบนลง ถ้าพบเศษวัสดุอะไรในดินก็หยิบออกมาแล้วนำผ้ามาคลุมดินไว้เพื่อรอการนำดินมาใช้ในการปั้นต่อไป
5. นำดินมาปั้นเป็นแท่งกลมยาวเพื่อขึ้นรูป โดยขึ้นรูปบนแป้นหมุน เรียกว่า ก่อพิมพ์ เป็นการปั้นครึ่งล่างของภาชนะที่ปั้น
6. นำครึ่งล่างที่ปั้นเสร็จแล้วไปผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำมาปั้นต่อให้เสร็จตามรูปแบบที่ต้องการ
7. นำมาผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำไปขัดผิวให้เรียบโดยใช้ลูกสะบ้าขัด ทำให้ผิวเรียบและมันแล้วนำไปตากให้แห้ง
8. นำภาชนะที่ปั้นเรียนร้อยแล้วและแห้งดีแล้วไปเข้าเตาเผา ซึ่งเป็นเตาก่อด้วยอิฐ
9. ในการเผาจะใช้เวลาประมาณ 2 คืน 3 วัน และต้องคอยใช้ฟืนในเตาเผาตลอดทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ได้ความร้อนสม่ำเสมอและทำให้ดินสุกได้ทั่วถึง
10. เมื่อเผาได้ตามที่กำหนดเวลาต้องงดใส่ไฟ แล้วปล่อยทิ้งไว้ในเตาเผา 2 คืน โดยค่อยๆ เปิดช่องว่างเพื่อค่อยๆระบายความร้อนเรียกว่า แย้มเตา
11. นำภาชนะที่เผาเรียนร้อยแล้วออกจากเตาคัดเลือกชิ้นที่มีสภาพดีนำไปจำหน่าย

ขนมไทย
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา Educational Tourism
ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วยฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงาน ขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

ขั้นตอนการทำขนม
ขนมฝอยทอง
ส่วนผสม
น้ำเชื่อม, ไข่เป็ด, น้ำตาลทราย, น้ำค้างไข่, น้ำลอยดอกมะลิ,ไข่ไก่
วิธีทำ
1. น้ำตาลทราย น้ำ ตั้งไฟพอเดือดน้ำตาลละลาย
2. ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง ตั้งไฟเคี่ยวต่อ
3. ให้น้ำเชื่อมมีลักษณะไม่ข้นหรือใสเกินไป เหมาะสำหรับโรยฝอยทอง
4. ตอกไข่ แยกไข่ขาวออกใช้แต่ไข่แดง และเก็บน้ำไข่ขาวที่ใสไม่เป็นลิ่ม เรียกน้ำค้างไข่
5. นำไข่แดงใส่ผ้าขาวบางรีดเยื่อไข่ออก ผสมไข่แดงกับน้ำค้างไข่ตามส่วน คนให้เข้ากัน
6. เตรียมกระทะทองใส่น้ำเชื่อมเดือด ๆ ไว้ ทำกรวยด้วยใบตอง หรือใช้กรวยโลหะใส่
7.ไข่แดงโรยในน้ำเชื่อมเดือด ๆ ไปรอบ ๆ ประมาณ 20-30 รอบ เส้นไข่สุกใช้ไม้แหลม
8. สอยขึ้นจากน้ำเชื่อม พับเป็นแพ อบด้วยควันเทียนหลังจากเย็นแล้ว

บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระหว่างประเทศ
1.องค์กร ท่องเที่ยวโลก
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว นานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาลโดยจัดตั้งเป็นองค์การที่มีชื่อว่าWorld Tourism Organization: WTO

องค์กรการท่องเที่ยวโลกจัดเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
- เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
- เพื่อ ดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



2.องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)
มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก องค์การนี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต

องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD)ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสาน งานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชี องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD MemberCountries”

องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาค เอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น
องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก
สมาชิก ของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้
1. การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของ ประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3. การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และ เป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ
องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
The Pacific Asia Travel Association: PATA
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อ พัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาค ที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล

สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน
เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยว ในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา
สมาคม นี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกัน
ปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509
องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา (Ministry of Tourism and Sport)
สำนัก งานพัฒนาการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐาน การบริการด้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับ มาตรฐาน
เพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
•สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
• สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
• สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO)
• สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand: PGA
• สภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544

บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
* พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
ให้คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
* พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก
* พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
* พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

2.พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีกฏหมายสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่
* พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522/ 2523 และ 2542
เป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศในฐานะนักท่องเที่ยว
* พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
เกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ
3. กฏหมายควบคุมดูแลและพัฒนารัพยากรการท่องเที่ยว มีกฏหมายสำคัญ 17 ฉบับ ได้แก่
*1.พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการโดยอำนาจหน้าที่การดูแลและการจัดการอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
*2.พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
*3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
*4.พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525
เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้ มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน
*5.พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
เกี่ยวกับการสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
*6.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
เกี่ยวกับการสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
*7.พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไป*8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121
เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์
*9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
*10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
การควบคุมมลพิษ การส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง
*11.พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535
ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถาน
*12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้
*13.พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128
กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนา
*14.พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528
ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
*15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว
*16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย
*17.พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543

4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว มีกฏหมายสำคัญ 22 ฉบับ ได้แก่
1 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
2 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
3 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546
4 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
5 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544
6 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535

7 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520, 2534 และ 2544
8 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548
9 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
10 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541
11 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543
12 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546
13 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542
14 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547
15 กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
16 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543
17 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540
18 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515
19 พระราชบัญญัติเรือไทย พ..2481 ถึง 2540
20 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522
21 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542
22 พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538




บทที่ 9 ผลกระทบของอุตสาหากรรมท่องเที่ยว


ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ด้านบวก
1.ช่วยให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภภายประเทศ
2.ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล
3.ช่วยให้เกิดการจ้างงาน
4.ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่
5.ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ
6.ช่วยให้เกอดภาวะดุลชำระเงิน

ด้านลบ
1.ค่าครองชีพของคนไทยในพื้นที่สูงขึ้น
2.ราคาที่ดินแพงขึ้น
3.มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ เครื่องดื่มแอลกอออล์ ผลไม้ อาหาร
4.ทำให้สูญเสียรายได้นอกประเทศ
5.รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆเป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ด้านบวก
1.เป็นการพักผ่อนหย่อนใจลดความตรึงเครียดจากการทำงาน
2.ช่วยให้เกิดสัติภาพแห่งมวลมนุษย์
3.ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
4.มาตราฐานการครองชีพดีขึ้น
5.คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
6.ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น
7.ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
8.การเดินทางท่องเที่ยวจะทำให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
9.การท่องเที่ยวจะลดปัญหาการอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองหลวง

ด้านลบ
1.ความรู้สึกไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
2.การมีค่านิยมผิดๆ
3.โครสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงเมื่อท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
4.การลบเลือนของอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่น
5.ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
6.ปัญหาโสเภณีและเพศพาณิชย์
7.ปัญหาบิดเบือนการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
8.ปํยหาความไม่เข้าใจกันและความขัดแย้งกันระหว่างคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
9.ช่วยให้เกิดการก่อสร้างดึงดุดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
10.ปัญหาต่างๆเช่น ปัญหายาเสพติด

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ด้านบวก
1.เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2.มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
3.ช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ประเทศ
4.ผลกระทบอื่นๆ เช่นการเกิดความเชื่อถือของชาวบ้าน

ด้านลบ
1.คุณค่าของงานศิลปะลดลง
2.วัฒนธรรมประเพณีถูกเสนอขายในรูปแบบของสินค้า
3.วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัมนธรรมใหม่
4.เกิดการตระหนักทางวัฒนธรรม
5.การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้นๆ

สรุป
การท่องเที่ยว ในแง่มุมที่ครอบคลุมจะพิจารณานักท่องเที่ยวทำให้กาท่องเที่ยวมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวขยายตัวขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ผู้ประการมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบ การที่จะทำให้การท่องเที่ยวอยู่ต่อได้นานๆ ควรใช้ไปด้วยรักษาไปด้วย

บทที่ 8 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจที่พักและธุรกิจขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องรับประทานอาหารในระหว่างการท่องเที่ยวหรือการเดินทาง ในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ห้องอาหารในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า ภัตตาคารได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบาๆ และมีผู้ให้คำนิยามของคำว่าร้านอาหารและภัตตาคารต่อมา


การจำแนกปะเภทของธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีร้านอาหารและภัตตาคารต่าง ๆ มากมายไว้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการจำแนกประเภทของร้านอาหารอย่างชัดเจน สามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทดังนี้


1.ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants)
เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่งรับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ



2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shops)
เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets)
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรงทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก



4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพ (Coffee Shops)
เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่ เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย



5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว ๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants)
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ มาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurants)
เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำ
อาหารไทย

อาหารไทยภาคกลาง
มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร จึงเป็นศูนย์กลางการค้าและทางวัฒนธรรมของชาติ มีความหลากหลายของอาหาร ทั้งเค็ม เผ็ด เปรี้ยวหวาน และมีการแต่งกลิ่นด้วยเครื่องเทศต่างๆ

อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศอุดมสมบูรณ์ มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม อาหารใช้พืชตามป่าเขา หรือที่ปลูกไว้มาปรุงอาหาร มีแบบเฉพาะ เรียกว่า “ขันโตก” ไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะได้ความหวานจากผักแล้ว


อาหารไทยภาคใต้
อยู่ติดทะเล (ฝน8แดด4) อาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล (มีกลิ่นคาวจึงใช้เครื่องเทศและขมิ้นดับกลิ่น) อาหารมีรสชาติเผ็ด ร้อน เค็ม เปรี้ยว นิยมกินผักเพื่อลดความร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”


อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินร่วนปนทราย มักรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงวัว ควาย เพื่อบริโภค และสัตว์อื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่น มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา อาหารมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม


ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1. อาหารเช้า คือ อาหารที่รับประทานตั้งแต่ 8.00-9.00 เป็น2ประเภทคือ
- อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
- อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ
2. อาหารก่อนกลางวัน คือ รับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่ 9.30-11.30
3. อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4. อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)
5. อาหารเย็น ( Dinner) เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่างๆ
- อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
- ซุป (Soup)
- อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
- อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
- ของหวาน (Dessert)
- ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6. อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก (Shopping and Souvenir Business)
คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค


ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store)
หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls)
คือ การขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop)
เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
2.สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรเวล เอเจนซี่ (travel agency)
ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความสหมายของแทรเวลเอเจนซี่ไว้ดังนี้
แทรเวลเอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบการธุรกิจ ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบธุรกิจ ธุรกิจที่ช่วยสาธารณชนในการวางแผนการท่องเที่ยว และความต้องการทางการท่องเที่ยว

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาอัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
ทางการท่องเที่ยวแทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดหาราคาต่างๆเช่นค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ราคาห้องพักของโรงแรม ราคารถเช่า ราคาทัวร์แบบเหมาจ่าย
2.ทำการจอง
ในการจองบัตรยการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ และสถานที่พักแรม การโดยสารเครื่องบินแทรเวลเอเจนซี่ต้องการข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ - จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อและนามสกุล
- เบอร์โทรศัพท์
- ที่อยู่ทางไปรษณีย์
- ชื่อผู้จอง
- ข้อมูลความต้องการบริการพิเศษ
- วันที่ออกบัตรโดยสาร
- รูปแบบการชำระเงิน
3.รับชำระเงิน
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ได้รับการรองรับจาก arc(Airlines Reporting Corporation)จะได้รับอนุญาติให้รับชำระเงินค่าบัตรโดยสารได้ทุก ๆ สัปดาห์
4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ


ประโยชน์ของการใช้บริการแทรเวล เอเจนซี่
1.แทรเวล เอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนในการท่องเที่ยว
2.แทรเวล เอเจนซี่สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3.แทรเวล เอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4.แทรเวล เอเจนซี่แก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5.แทรเวล เอเจนซี่รู้จักแหล่งประกอบธุรกิจมากกว่า
6.แทรเวล เอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
- แบบที่มาแต่เดิม
- แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
- แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
- แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก

บริษัททัวร์ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำดปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่าน แทรเวล เอเจนซี่
ทัวร์ หมายถึง รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า

ประโยชน์ของการใช้บริษัททัวร์
1.ประหยัดเวลาและค่าใชจ่าย
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ได้ความรู้
4.ได้เพื่อนใหม่
5.ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6.ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์
1.ทัวร์แบบอิสระ Independent เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบอิสระ









2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว Hosted Tour โปรแกรมเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัท











3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว Escorted Tour โปรแกรมเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง