สวนรถไฟอยู่เขตจตุจักร ติดกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ใกล้ ๆ สวนจตุจักรนี่เอง ทางเข้าจะอยู่ใกล้กับตึก ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ้ามาจาก ถ.วิภาวดีรังสิต แยกสุทธิสาร จะต้องขึ้นสะพานลอยข้ามแยก (ด้านนอก) ให้เลือกช่อง “ดอนเมือง” อย่าผิดช่องเพราะมีหลายทางเลือกมาก เมื่อลงสะพานลอยให้ชิดซ้ายตัดเข้าถนนเล็ก ๆ ตรงทางเข้า ตรงจุดนี้ควรใช้ความระมัดระวังด้วย เพราะระยะทางค่อนข้างกระชั้นชิด ถ้ามาจากทางอื่นไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก แล้วเลี้ยวเข้าซอยข้าง ปตท.ซึ่งจะเห็นป้ายชื่อสวนวชิรเบญจทัศขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ถ้านำรถมาเสียค่าบำรุงสถานที่ 10 บาท
ความเป็นมา
ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อม ในรูปการเพิ่มพื้นที่สีเขียวใน เมือง เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของชาวกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมมหานครใหญ่ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2534 และวันที่ 29 มกราคม 2534 สมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้จัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ "สนามกอลฟ์รถไฟ" ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ส่วนแรก 140 ไร่ให้สร้างเป็นสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ส่วนที่เหลือ 375 ไร่ กรุงเทพมหานครรับมอบที่ดินจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2541 และจ่ายค่าชดเชยให้การรถไฟ ฯ จำนวน 555 ล้านบาท และเริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่สนามกอลฟ์เดิม เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 ต่อมา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2545 กรุงเทพมหานครได้ขอพระราชทานชื่อให้กับสวนรถไฟ ซึ่งได้ทรงพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "สวนวชิรเบญจทัศ"
การเดินทาง
หารถเมล์สายที่ผ่าน สวนจตุจักร และ เส้นพหลโยธิน ลงตรงสวนจตุจักรหรือ ถ้ารถเมล์บางสายที่ๆไปทางดอนเมือง ก็ลงตรงป้ายแรก เส้น วิภาวดีรังสิต ตรงนั้นก็จะมี มอเตอร์ไซด์บริการ บอกเค้าว่า ไปสวนรถไฟ ไปถูกทุกคน
**รถเมล์สายที่ผ่านสวนจตุกจักร 3, 8, 26, 27, 28, 34, 38, 39, 44, 63, 90, 96, 104, 112, 134, 138, ปอ. 2, 3, 9, 10, 12, 13
อีกหนึ่งทางที่สะดวกสำหรับคนกรุง และไม่ต้องเสียงกับรถติดแน่นอน คือทางรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีหมอชิต และรถไฟใต้ดินลงสถานีพหลโยธิน เดินลัดสวนหย่อม ตรงสถานี มาทางถนนวิภาวดี ข้ามสะพานลอยมาเพื่อขึ้นวินมอเตอร์ไซด์
ลักษณะและสิ่งที่น่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว
บทบาทใหม่ของสวนสาธารณะที่เพิ่มศักยภาพ ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งนันทนาการเปิด ทำให้ผู้ใช้สวนสามารถเข้ามาใช้บริการ ได้ตลอดวัน เกิดขึ้นจากการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้และนันทนาการในสวนทั้ง 6 จุด เข้ากับกิจกรรมในสวนสาธารณะข้างเคียง คือ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จำนวน 2 จุด และสวนจตุจักร อีก 1 จุด รวมเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ 9 จุดเชื่อมสวนทั้ง 3 เข้าด้วยกันเป็นพื้นที่สี เขียวผืนใหญ่ ถึง 705 ไร่ สร้างคุณค่ามหาศาลต่อระบบนิเวศของเมือง นับเป็นการพัฒนาด้านสังคมควบคู่กับด้านจิตใจ ที่สอดแทรกมาในการพัฒนาพื้นที่ด้านกายภาพ
อุทยานการเรียนรู้จตุจักร ครอบคลุมพื้นที่สวนสาธารณะ 3 แห่ง นำเสนอกิจกรรม 9 จุด ดังนี้
1)สวนปิกนิก " ฟ้าใส ไม้สวย ด้วยแรงใจ ปตท.สผ." พื้นที่ 4 ไร่ ส่วนหนึ่งในสวนวชิรเบญจทัศ จัดไว้เพื่อปิกนิก ณ ลานบาร์บีคิว ใต้ร่มไม้ ริมบึงน้ำ ท่ามกลางทุ่งดอกไม้ป่า มีเตาปิ้งไว้ให้บริการ ซึ่งสวนบริเวณนี้ ได้รับการสนับสนุนจัดสร้างจากบริษัทปตท.สำรวจและปิโตรเลียมฯ ปัจจุบันกลายเป็นที่ชุมนุมของครอบครัวในวันหยุด เปิดบริการเวลา 07.00 - 21.00 น.ทุกวัน บริเวณริมบึงน้ำมีบริการเช่าจักรยานน้ำและเรือพาย อัตรา 30 บาท / 1 ชม.
2)ลานกีฬา ที่ตั้งของศูนย์ฝึกกีฬาประชานิเวศน์ ให้บริการด้านสถานที่ และอุปกรณ์กีฬาแก่สมาชิก มีสนามฟุตซอล 5 สนาม สนามฟุตบอล 4 สนาม สนามสตรีทบอล ลานเปตอง อุปกรณ์ยกน้ำหนัก เปิดบริการเวลา 10.00- 18.00 น.ทุกวัน
3)อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ สร้างในพื้นที่ 4 ไร่ด้านตะวันออก เฉียงใต้ของสวนวชิรเบญจทัศเป็นอาคารรูปโดมขนาด 1 ไร่ ภายในแสดง นิทรรศการ ห้องวีดีทัศน์ให้ความรู้ และกรงผีเสื้อแบบ Walk in ที่จัดภูมิ-ทัศน์งดงามด้วยน้ำตก ธารน้ำและมวลไม้ดอก นำเสนอโอกาสชื่นชม ผีเสื้อสีสันสวยงามนับพันตัวในสภาพเป็นอยู่จริง มิใช่ในกล่องสะสมแมลงอีกต่อไป
4)ศูนย์นันทนาการชุมชนสวนรถไฟ ให้บริการด้านกิจกรรมนันทนา- การรูปแบบต่าง ๆ มีสระว่ายน้ำสำหรับเด็กที่ตกแต่งด้วยน้ำพุ ล่อใจ สร้าง ความเพลิดเพลิน มีบริการเช่าจักรยาน และสนามเด็กเล่นที่มีชุดเครื่อง เล่นสำหรับเด็กหลายวัยถึง 15 ชุดติดตั้งจุดพ่นละอองน้ำเป็นระยะสร้าง ไอเย็นดับร้อนและน่าตื่นเต้น เรียกความสนใจจากเด็กได้ดี เปิดบริการ เวลา 06.00-20.00 น. วันจันทร์- เสาร
5)ค่ายพักแรม สถานที่จัดกิจกรรมผจญภัยกลางแจ้งในบรรยากาศสวย ๆ ของสวนวชิรเบญจทัศ เปิดโอกาสให้ครอบครัว เด็กและเยาวชนเข้าร่วม ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
6)สวนป่าใหญ่ในเมือง รวบรวมพันธุ์ไม้ในพื้นที่ 10 ไร่ ของสวนอันเกิดจากโครงการ ต่อชีวิต ต้นไม้สร้างป่าใหญ่ในเมือง เพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี ที่ถูกรุก รานจากการพัฒนาเมือง ให้มามี ชีวิตใหม่ใน "ป่าสาธิต" แห่งนี้ นำเสนอกิจกรรมศึกษา ธรรมชาติ จำลองระบบนิเวศของป่าไว้ให้เรียนรู้
7)สวนพฤกษศาสตร์ พื้นที่ 30 ไร่ในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นที่รวบรวม พันธุ์ไม้ท้องถิ่น ไม้หายากแปลกตา น่าสนใจไว้เพื่อให้ความรู้ และนำเสนอความมหัศ- จรรย์แห่งธรรมชาติ เพื่อเด็กรุ่นใหม่ได้สัมผัสเรียนรู้จากของจริง ทดแทนข้อจำกัดของ สถานศึกษาในเมือง ที่มักคับแคบ ขาดแคลนพื้นที่สีเขียว
8)พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ด้านหน้าของ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ภายในและ ภายนอกจัดนิทรรศการและกิจกรรม ทั้งให้ความรู้ และความบันเทิง ผ่านขบวนการเรียนรู้ที่เด็กมีส่วนร่วมได้ แบ่งเป็น 8 ภาค คือ
ภาคธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กเรียนรู้สมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศ
ภาควิทยาศาสตร์ ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลอง สังเกต และเข้าใจถึงกฏเกณฑ์พื้นฐาน
ภาคเทคโนโลยี ให้เด็กเรียนรู้การนำหลักวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในรูปเทคโนโลยีที่ สัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน
ภาควัฒนธรรมและสังคม ให้เด็กได้เรียนรู้ความต่างของเพื่อนมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของ โลก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ภาคร่างกายของเรา ให้เด็กเรียนรู้การกำเนิดชีวิตและระบบร่างกายมนุษย์
ภาคสันทนาการและการออกกำลังกาย เพื่อความตื่นเต้น สนุกสนานเสริมสร้างความแข็งแรง และความมั่นใจตนเอง
ภาคกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก มุมฝึกฝน กระตุ้นพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาของเด็กเล็ก
ภาคเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แสดงนิทรรศการเผยแพร่ พระราชกรณียกิจ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งนี้เปิดบริการทุกวันเว้นวันจันทร์เวลา 10.00-18.00 น.
น้ำพุสูงที่สุดในประเทศไทย ติดตั้งกลางบึงน้ำ พ่นน้ำสูงถึง 72 เมตร หมายถึงการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 72 พรรษา
กิจกรรมขี่จักรยานแรลลี่ดูนก สำหรับผู้รักธรรมชาติ ชื่นชอบการดูนกที่มีมากกว่า 30 ชนิด
ประติมากรรม สร้างชีวิตชีวาให้สวนด้วยประติมากรรมที่สื่อถึงอารมณ์ สนุกสนาน ในอิริยาบถร่าเริงของเด็ก กระจายประดับอยู่ทั่วสวน